HISTORY

ประวัติความเป็นมาของโครงการ

CBIT ( Center of Building Innovation and Technology )

จากการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเป็นมหาวิทยาลัย วิจัยสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของประเทศที่ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 และเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนระดับมหาบัณฑิตสาขานวัตกรรมอาคารได้เติบโตและ มีแผนดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนควบคู่กับงานวิจัยและพัฒนามาตาม ลำดับ โดยมีแนวทางที่ชัดเจนและเป็นสถาบันแรกในประเทศไทยที่ประกาศจุดยืนด้านการ สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม อันสอดคล้องกับปรัชญาของคณะฯที่เน้นการการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืนและสภาพ แวดล้อม นอกจากนี้แนวทางดังกล่าวยังสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งสนับสนุนให้ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชนหันมาสร้างสรรค์พัฒนางานโดยพึ่งพา ปัญญาและทรัพยากรที่มีเพื่อให้ผลที่เพียงพอและเกิดความยั่งยืน

ในช่วงเวลานับตั้งแต่จัดตั้งสาขาฯ ได้มีผลงานวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมอาคารเป็นจำนวนมาก อาทิ นวัตกรรมวัสดุและการก่อสร้างทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม นวัตกรรมระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ นวัตกรรมการวิเคราะห์ ทดลอง และประเมินสมรรถนะอาคาร นวัตกรรมการออกแบบประหยัดพลังงาน นวัตกรรมระบบอาคาร นวัตกรรมการออกแบบจากเศษวัสดุ และนวัตกรรมการใช้ต้นไม้ในงานสถาปัตยกรรม เป็นต้น
การที่สาขาฯมีการวิจัยและพัฒนาในด้านดังกล่าว เป็นไปโดยอาศัยความร่วมมือด้านวิชาการและการสนับสนุนทุนวิจัยจากทั้งภาครัฐ และภาคธุรกิจอุตสาหกรรม สาขาฯเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งศูนย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางใน ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางอาคารให้มีความชัดเจน มีระบบการบริหารจัดการที่คล่องตัว และมีอำนาจในการต่อรองในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านการคุ้มครองงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้จากการที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้มีนโยบายร่วมกับกรมสรรพากรในการยกเว้นภาษีให้กับผู้ประกอบการในการทำงาน วิจัยและพัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษาโดยให้สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ รับรองโครงการวิจัยและพัฒนาทำการรับรองผลงานจากศูนย์ที่มีความชัดเจนในด้าน การวิจัยและพัฒนา ยังเป็นแรงสนับสนุนหนึ่งที่ทำให้ภาคเอกชนมีความต้องการที่จะทำงานร่วมกับภาค รัฐเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดตั้งศูนย์ที่เปิดโอกาสให้เกิด ความร่วมมือระหว่างผู้วิจัยและภาคการผลิตอุตสาหกรรมดังกล่าว อันจะเป็นการนำงานวิจัยไปสู่การพัฒนาเพื่อใช้งานจริง เกิดนวัตกรรมและความยั่งยืน

สาขาเทคโนโลยีทางอาคาร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์